คำถาม
ฟังก์ชั่น Auto ใช้สำหรับอะไร
คำตอบ

ฟังก์ชั่นนี้ใช้สำหรับให้ Oscilloscope หาสัญญาณและทริกสัญญาณนั้นแบบอัตโนมัติ วิธีการทำงาน Oscilloscope จะค้นหาค่า Volt/Div ที่เหมาะสม และ Time/Div ที่เหมาะสม และระดับทริกเกอร์(Trigger Level) ที่เหมาะสม เพื่อทำให้ Oscilloscope แสดงสัญญาณให้นิ่ง ๆ ได้ แต่ ฟังก์ชั่น Auto นี้จะไม่สามารถใช้ได้กับทุกสัญญาณเสมอไป ส่วนมากจะเหมาะกับสัญญาณที่เป็น คาบเวลา (Periodic Signal) แน่นอน หรือสัญญาณที่ไม่มีความซับซ้อนมาก เช่นสัญญาณ Sine, Square, Pulse เป็นต้น แต่ถ้าสัญญาณมีความซับซ้อนมากขึ้น ต้องปรับแต่งเองดีที่สุดครับ

คำถาม
ปุ่ม ในสโคป ที่ใช บ่อยๆ มี ปุ่มอะไรบ้างครับ ผมเห็น ที่ใช้ บ่อยๆ คือ ปุ่ม TIME/DIV และ ปุ่ม VOLTS/DIV การทำงานของ ปุ่มนี้ ทำงานอย่างไร มีหน้าที่อย่างไร
คำตอบ

ปุ่มที่ใช้บ่อยน่ะครับจะมีหลัก ๆ คือ Volt/DIV, Time/DIV, Trigger Level, Position ชึ้นลงซ้ายขวา
เนื่องจาก Oscilloscope บนหน้าจอจะมีแกนตั้ง และแกนนอน
แกนตั้ง คือ แกนของแรงดันไฟฟ้า (Volt)
แกนอน คือ แกนเวลา (Time)


เพราะฉะนั้นด้วยเหตุผลนี้จึงจำเป็นต้องสามารถปรับค่า scale ของแกนตั้ง และแกนนอนได้
  - Volt/DIV เป็นปุ่มปรับใช้สำหรับปรับสเกลทางด้านแกนตั้ง เช่น 1V/DIV เท่ากับ 1V ต่อ 1 ช่องทางด้านแกนตั้ง โดยส่วนมาก Oscilloscope จะมีสเกลแกนตั้งบนจออยู่ที่ 8 ช่อง
    เพราะฉะนั้น ถ้าท่านปรับ 1V/DIV แสดงว่าตอนนี้ทั้งจอภาพของ Oscilloscope จะสามารถแสดงสัญญาณได้มากที่สุดเท่ากับ 1V/DIV x 8 = 8V ถ้าสัญญาณท่านสูงกว่า 8V
    ก็จะไม่สามารถวัดได้ ท่านต้องปรับสเกลเพิ่ม เป็น 5V/DIV เป็นต้น
  - Time/DIV หลักการเดียวกันกับ Volt/DIV แต่สเกลจะมีหน่วยเป็นวินาที เช่น 1s/DIV, 100ms/DIV เป็นต้น


วิธีการคำนวนความถี่
ก่อนอื่นต้องรู้จักความหมายของ 1 คาบเวลาของสัญญาณก่อน
  - 1 คาบเวลาสัญญาณคือนับตั้งแต่ จุดเริ่มและกลับมาซ้ำจุดเดิม เช่น สัญญาณ Sine นับจากยอดไปอีกยอด


ตัวอย่าง
นำ Oscilloscope จับสัญญาณ Sine ซักสัญญาณนึง ปรากฎว่า นับจากยอดไปถึงยอดใช้ทั้งหมด 5 ช่อง และขณะนั้น Time/DIV ปรับไว้ที่ 0.2ms/DIV
แสดงว่าสัญญาณนี้ใช้เวลา 1 คาบทั้งหมด = 0.2ms x 5 = 1ms
นำค่าที่ได้มาเข้าสูตร ความถี่ = 1 / คาบเวลา
เพราะฉะนั้น สัญญาณนี้จะมีความถี่ = 1/1ms = 1kHz ( 1 กิโลเฮิร์ท ) นั่นเอง

สรุป
ในการคำนวนหา แรงดันไฟฟ้า หรือ ความถี่ ก็ดี ค่อนข้างยุ่งยาก ดังที่กล่าวมาแล้ว
เพราะฉะนั้นควรเลือกใช้ Digital Oscilloscope จะดีกว่า เพราะ Digital Oscilloscope สามารถคำนวนและอ่านค่าต่าง ๆ ให้เราได้เลยโดยไม่ต้องคำนวน
ค่าที่ Digital Oscilloscope จะสามารถคำนวนให้ได้ เช่น Vpp, Vrms, Vavg, Period, Frequency, Duty Cycle, Rise Time, Fall Time เป็นต้น

คำถาม
อยากทราบว่า ค่า Sample rate มากน้อยมีผลต่อการวัดสัญญาณ อย่างไรครับ และค่า Sample rate แบบ Realtime กับไม่ Realtime ต่างกันอย่างไร ขอบคุณครับ
คำตอบ

Sampling Rate (อัตราการสุ่มตัวอย่าง) คือ จำนวนที่ Oscilloscope จะสามารถเก็บจุดที่วัดมาได้กี่จุดใน 1 วินาที
ตัวอย่าง Sampling Rate 1GSa/s หมายความว่า Oscilloscope จะสามารถจับสัญญาณได้ถึง 1,000,000,000 จุดใน 1 วินาที
แน่นอนครับ Sampling มากย่อมดี แตมีสิ่งที่เกี่ยวกับ Sampling Rate ที่คนเป็นจำนวนมากที่ยังไม่เข้าใจ

สมมุติ ถ้าท่านมี Oscilloscope ที่มี Sampling Rate 1GSa/s ส่วนมากจะคิดว่า Oscillscope ตัวนั่นๆ จะมีค่า Sampling Rate ที่ 1GSa/s ตลอดเวลา นั่นไม่จริงเลยครับ
คำถาม : ถ้าท่านนำ Oscillscope Sampling Rate 1GSa/s ไปจับสัญญาณ 1kHz ท่านคิดว่า Oscilloscope จะใช้ Sampling Rate เท่าไร?
คำตอบ : คนส่วนมากคิดว่า 1GS/s แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่ใช่ครับ Oscilloscope จะบริหาร Sampling ตามสูตรนี้
|-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------|
|                                                  Memory ของ Oscilloscope หรือ MemDepth หรือ Record Lenght                     | 
| Sampling Rate ที่ใช้ในขณะนั้น = ________________________________________________________                |
|                                                Time ทั้งหน้าจอในขณะนั้น (Time/DIV x DIV) หรือเรียกว่า Time Interval                  |
|-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------|

จากสูตรจะเห็นได้ว่า สิ่งที่เราปรับได้คือ Time/DIV
เพราะฉะนั้น ในกรณีที่สัญญาณความถี่สูง ๆ เราจะปรับ Time แคบๆ ก็จะทำให้ Oscilloscope มีค่า Sampling Rate มากตาม
แต่ถ้าในกรณีที่สัญญาณความถี่ต่ำลง เราจะปรับ Time กว้างขึ้นก็จะทำให้ Oscilloscope มีค่า Sampling Rate ลดลงเช่นกัน
และจะ เห็นว่าค่า Memory ของ Oscilloscope มีผลในสูตรนี้ด้วย หมายความว่า ถ้า Oscilloscope ตัวนั้นมีค่า Memory สูงก็จะทำให้ค่า Sampling Rate มากขึ้นด้วย

สรุป ถ้าค่า Sampling ของ Oscilloscope น้อยเกินไปเมื่อเทียบกับสัญญาณที่ต้องการวัด จะมีผลทำให้ สัญญาณที่วัดได้ ผิดเพี้ยน

ที่กล่าวทั้งหมดนั้นคือ Sampling Rate แบบ Real-Time
ในส่วน Sampling Rate แบบ ไม่ Real-Time หรือเรียกอีกอย่างว่า Equilavent Sampling Rate นั้น
เป็น หลักการที่ Oscilloscope เก็บจุดมาหลาย ๆ รอบแล้วค่อยเอามารวมกัน Sampling Rate แบบนี้จะเหมาะสำหรับจับสัญญาณที่เป็น คาบเวลาแน่นอน (Periodic Signal) แต่จะไม่เหมาะกับสัญญาณที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เพราะจะทำให้จับสัญญาณเพี้ยน

คำถาม
อยากทราบว่า Time แคบ กับ Time กว้าง (จากฟังก์ชั่นแกนนอนหรือแกน TIME ) ระหว่าง ค่า s ค่า ms ค่า us ค่าตัวไหนเป็น Time แคบ Time กว้างครับ
คำตอบ

ค่า s ย่อมาจาก second ที่แปลว่า วินาที เช่น 2s ก็คือ 2 วินาที
ค่า ms ย่อมาจาก milli second ที่แปลว่า มิลลิวินาที เช่น 2ms ก็คือ 2 มิลลิวินาที = 0.002 วินาที
ค่า us ย่อมาจาก micro second ที่แปลว่า ไมโครวินาที เช่น 2us ก็คือ 2 ไมโครวินาที = 0.002 มิลลิวินาที = 0.000002 วินาที

เพราะฉะนั้น ถ้าเรียงลำดับจาก กว้าง --> แคบ คือ s --> ms --> us --> ns --> ps ครับ

 

แบบส่งคำถาม (Question Form)
 *ชื่อ (Name) :
  สถานที่ทำงาน (Company) :
  ตำแหน่ง (Position) :
  หัวข้อเรื่อง (Subject) :
 *E-mail :
 *เบอร์โทรศัพท์ (Tel) :
 *เบอร์โทรศัพท์มือถือ (HP) :
   เบอร์โทรสาร (Fax) :
*กรุณากรอกคำถามที่ท่านต้องการ (Enter your question as below )